Friday, March 18, 2016

อุปทาน(Supply)

              อุปทาน  สำหรับในวิชาเศรษฐศาสตรแล้วนั้นคงต้องมีความควบคู่กับระหว่างอุปสงค์และอุปทานเสมอ  ดังนั้นแล้ว  อุปทานก็คือ  ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการเสนอขาย  ในระดับราคาต่างๆ  ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่  ก็คือความต้องการขายหรือทางเสนอขายของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการนั้นเอง
                ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
                1. ราคาสินค้าสินนั้น 
(Px)
                   2. ราคาปัจจัยการผลิต(Py)
                   3. ต้นทุนการผลิต (C)
                   4. เทคโนโลยีการผลิต (T)
                                                        กราฟตัวอย่าง
                                  
                ราคาสินค้าชนิดนั้น  หากราคาสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้นมีความต้องการขายสินค้ามากขึ้นด้วย  และหากสินค้าชนิดนั้นลดลงผู้ขายต้องการที่จะขายสินค้าชนิดนั้นลดลงเช่นกัน  สรุปคือไปตามขนาดกับราคาสินค้านั้นเอง
                ราคาปัจจัยการผลิต  มีทิศทางตรงกันข้ามนั้นก็คือถ้าปัจจัยการผลิตสินค้ามีมากขึ้นหรือว่าราคาสูงขั้นก็จะทำให้มีความต้องการสินค้านั้นลดลงเพราะว่าจะทำให้ผู้ผลิตนั้นมีกำไรลดลงแต่หากปัจจัยการผลิตสินค้าลดลงก็จะทำให้ความต้องการขายสินค้าเพิ่มากขึ้นด้วย
                 ต้นทุนการผลิ  สำหรับต้นทุนการผลิตหากต้นทุการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีความต้องการขายสินค้าลดลงและหากต้นทุนการผลิตต่ำลง
                เทคโนโลยีการผลิต  การที่นำเทคโนโลยีการผลิตนำมาใช้นั้นช่วยให้การผลิตนั้นมีประสิทธิภาพ  หากเราได้นำเครื่องไม้เครื่องมือหรือว่าอุปกรณืที่เป็นเทคโนโลยีขั้ยสูงเข้ามาใช้ในการผลิตนั้นก็จะทำให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นและยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มมากขึ้นด้วย
                นอกจากนั้นยังมีปัจจัยการผลิตอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือว่านโยบาลของทางรัฐบาล  และเกิดเรื่องของการเมือง  การเปิดเหตุอื่นๆที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ซึ่งจะมีผลทำให้เปิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปทานได้
                สมการอุปทาน 
(Supply Equation)
                เมื่ออุปทานเป็นการแสงความต้องการของผู้ผลิตจึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการผลิตโดยสามารถที่จะเขียนได้ดังนี้
                
Qx = f(Px, Py, C, T,….)
                จากฟังก์ชั่นเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่ต้องการเสนอขายและปัจจัยการผลิตราคาสินค้า  และยังมีปัจจัยที่สำคัญคือราคาสินค้าที่จำหน่าย
                กฎของอุปทาน 
(law of supply)
                ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ปริมาณการเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าราสินค้าลดลงจะทำให้ความต้องการเสนอขายสินค้ามีจำนวนลดลง
ที่มา www.accountclub.com

No comments:

Post a Comment