Friday, March 25, 2016

คอมพิวเตอร์และเครือข่าย

        คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
   ไวรัสคอมพิวเตอร์คือ    ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง  ที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ   ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน  การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว   เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้น  จะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส   แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว                จุุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น   เช่น   อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ   ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือ  แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น   บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่าง
กำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
  ไวรัสคอมพิวเตอร์มี  5  ประเภท ดังนี้
     1.  บูตไวรัส จะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่
ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

      2.  ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

      3.  มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย 
ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

      4.  หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้
รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจาย
ตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

       5.  โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรม
จำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ
มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
จริงๆแล้วไวรัสมีมากมายหลายรูปแบบ ที่เกิดขึ้นใหม่ในทุกๆวัน                                                ดังนั้นโปรแกรมแอนตี้ไวรัส จึงได้มีการอัฟเดตข้อมูลไวรัสอยู่ทุกวัน ซึ่งจะช่วยให้มีการ
ป้องกันไวรัสได้ดียิ่งขึ้นครับ แต่ส่วนตัวอยากให้ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส ของแท้ครับ เพราะการอัฟเดทจะมีประสิทธิภาพกว่า แถมทุกวันนี้หาชื้อได้ง่ายราคา ก็ไม่แพง  
         โทษขอไวรัสคอมพิวเตอร์
     1.   ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าระบบ (LAN) ได้ ซึ่งไวรัส  จะบล็อกการทำงานส่วนนี้ไว้
     2   ทำให้ไม่สามารถเปิดเว็บไซต์ที่เป็นเว็บไซต์โปรแกรม Anti-virus ทุกเว็บ เช่น เว็บไซต์ของ   เป็นต้น
     3.  ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอัพเดตฐานข้อมูลโปรแกรม Anti-virus ทุกโปรแกรม

       อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP  Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันในinternet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ Lana ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล  ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบ

          ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
       1.    เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
       2.   เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms  หรือ web เป็นต้น
       3.    เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
       4.    เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น  หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
       5.   ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
       6.    เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

           โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอินเตอร์เน็ต
   1. โปรแกรมประเภทบราวน์เซอร์                                                                                                                     2.  โปรแกรมประเภทสร้างเว็บเพจ                                                                                                                      3.  โปรแกรมประเภทสนทน
   4.  โปรแกรมมัลติมีเดียนบนอินเตอร์เน็ต
   5.  โปรแกรมระบบปฎิบัตฺการ
   6.  โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิส์

ที่มา  guru.sanook.com



หลักเศรษศาสตร์

                                                        หลักเศรษฐศาสร์
   ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา   และอุปทานต่อราคาเป็ นการวัดขนาดของความสัมพันธ์ระหวา่ งปริมาณการเสนอซ้ือสินคา ้ และบริการกบั ปัจจยัที่มี อิทธิพลกา หนดปริมาณการเสนอซ้ือในรูปของเปอร์เซนตก์ ารเปลี่ยนแปลงโดยค่าน้ีจะบอกวา่ เมื่อปัจจยัที่ มีส่วนกำหนด  เปลี่ยนแปลงไป  จะมีผลทำให้เปลี่ยนแปลงไปกี่เปอร์เซนต
    ประโยชน์ประโยชน์    ของความยืดหยุ่น • • • • • การวิเคราะห์ปัญหาการเก็บภาษีและการผลักภาระภาษี การวิเคราะห์ปัญหาการกาหนดราคาขั้นสูง การวิเคราะห์ปัญหาการกาหนดราคาขั้นต่า การวิเคราะห์การกาหนดราคาขายที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์การกาหนดราคาสาธารณูปโภค                                        การประกันราคาขั้นตำ่    ปกติถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดก็จะต้องมีการซื้อขายกันที่จุด
ดุลยภาพ   ซึ่งรัฐบาลมองว่าราคาดุลยภาพเป็นราคาที่ต่ำเกินไป  เรียกได้ว่าพ่อค้าคนกลางมักจะซื้อสินค้าเกษตรในราคาที่ต่ำ   ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาแปประรกแซงค่ะ  โดยกำหนดราคาขั้นต่ำสูงกว่าราคาดุลยภาพนั่นเองการประกันราคาขั้นต่ำโดยรัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่เกษตรกร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่รัฐบาล
สหรัฐฯ เคยยึดถือปฏิบัติ ซึ่งก็คือ การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิตสินค้าบางชนิด กล่าวคือ รัฐบาลจะกำหนดราคาประกันขั้นต่ำไว้ แต่ปล่อยให้มีการซื้อขายตามกลไกราคาในตลาดซึ่งเท่ากับ  และรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดให้แก่เกษตรกร 
      การประกันราคาขั้นสูง  การประกันราคาขั้นสูง (Price Ceiling) หมายถึง การประกันราคา ให้ตํ่ากว่าราคาดุลยภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเนื่องจากราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเดือดร้อนสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ

Friday, March 18, 2016

การสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     
ระบบการสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์พิมพ์อีเมล์
             ระบบเครือข่าย (Network System) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องเรียน ภายในองค์กร ระหว่าง อาคาร ระหว่างเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งโลกที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (Internet)การติดต่อสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยอาศัยระบบการสื่อสาร ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network System)
             ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นวิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล ที่กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงาน ซึ่งเป็นระบบที่มี บุคคลากรในการทำงานน้อยที่สุดโดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสาร ระหว่างเครื่องมือเข้าด้วยกัน สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
  1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
  2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสาร
    แบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข่ายงาน
  3. Internet Working คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
  4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการให้บริการข้อมูล
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
       1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว 
       2. ความถูกต้องของข้อมูล
       3. ความเร็วของการทำงาน
       4. ประหยัดต้นทุน
                                                         
มาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             การทำงานในสำนักงานจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โต๊ะทำงานแต่ละตัวจะเป็นเสมือนจุดหนึ่งของการประมวลผล การวิเคราะห์ การแยกแยะข้อมูลและส่งให้โต๊ะอื่นๆ หรือหน่วยอื่น ๆ ต่อไป การเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้เกิดเป็นระบบแห่งการประมวลผล หรือทำให้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ ระบบเชื่อมเข้าด้วยกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นเรื่องของการประมวลผลในจุดต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลถึงกันผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             เหตุผลของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าหากัน เนื่องจากราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลงและมีความต้องการเพิ่มขีดความสามารถของระบบโดยรวม เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวก็ทำงานได้ในตัวเองอย่างหนึ่ง แต่เมื่อรวมกันจะทำงานได้เพิ่มขึ้นและสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้
             การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย จำเป็นต้องมีมาตรฐานกลางที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ ทุกเครื่องหรือทุกระบบสามารถเชื่อมโยงกันได้ ในระบบเครือข่าย จะมีการดำเนินพื้นฐานต่าง ๆ กัน เช่น การรับส่งข้อมูล การเข้าใช้งานเครือข่าย การพิมพ์งานโดยใช้อุปกรณ์ของเครือข่าย เป็นต้น
             องค์กรว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้กำหนด มาตรฐานการจัดระบบการเชื่อมต่อสื่อสารเปิด (Open Systems Interconnection : OSI) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่าง 2 ปลายทางใด ๆ บนเครือข่ายระบบสื่อสาร มีการแบ่งออกเป็นระดับ (Layer) ได้ 7 ระดับ โดยแต่ละระดับจะมีการกำหนดมาตรฐานในการติดต่อเป็นของตัวเอง และระดับหนึ่งจะติดต่อกับระดัที่เท่ากันของอีกปลายหนึ่ง ระดับที่สูงกว่าจะสั่งงานและรับข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจากระดับที่ต่ำกว่า โดยไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของระดับที่ต่ำกว่า
             การสื่อสารในระดับต่าง ๆ จะอาศัยการควบคุมเพื่อให้ระบบการทำงานนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องมีมาตรฐานโดยการสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเก็ต จะเกี่ยวพันกับ 3 ระดับล่าง ซึ่งได้แก่
             1. ระดับฟิสิคัล (Physical Layer) เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับการรับข้อมูลเป็นบิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับแรงดันไฟฟ้าช่วงความถี่ คาบเวลา
             2. ระดับดาต้าลิงค์ (Data Link Layer) เป็นระดับที่ทำการแปลงการรับส่งข้อมูล ที่มีความไม่แน่นอนให้แน่นอนขึ้น โดยการจัดรูปแบบข้อมูลเป็นบล็อก เช่น เฟรม (Frame) พร้อมทั้งมีการตรวจสอบข้อผิดพลาด
             3. ระดับเนตเวอร์ค (Network Layer) ทำการส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้าไปในเนตเวอร์ค แพ็กเก็ตก็อาจเดินทางไปอย่างอิสระ โดยมีการจ่าหน้าแอดเดรสของผู้รับและผู้ส่งวิธีนี้เรียกว่าDatagrame

                                                                การสื่อสารในระดับต่างๆ                                     
             ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน
มากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol)สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่าTCP/IPซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
             การทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นไปส่วนย่อยๆ(เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
             รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลเกิด สูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถ ตรวจหาข้อมูลที่สูญหายไปได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่อีกครั้งได้
             โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐและถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพี่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
             การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งาอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์ เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ เครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกันเราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                                                โครงสร้างการสื่อสาร

                                       
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network :LAN)
2. เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network :WAN )
การต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้
             หากต้องการที่จะนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาต่อเป็นระบบ โดยใช้ขีดความสามารถเดิมที่มีอยู่ สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
             1. การเชื่อมต่อผ่านช่องทาง Com1, Com2 และ LPT เป็นวิธีที่นำคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ต่อผ่านช่องทาง COM1 หรือ COM2 เพื่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างกัน
             2. การเชื่อมต่อเข้ากับบัฟเฟอร์เครื่องพิมพ์ เป็นการแบ่งกันใช้เครื่องพิมพ์เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเครื่องพิมพ์ (Printer) เกิดประโยชน์มากขึ้น
             3. การเชื่อมต่อโดยใช้ระบบสลับสายข้อมูล เป็นวิธีการต่อขยายระบบแบบง่าย ๆ ที่ใช้มือช่วยระบบสลับสายข้อมูลทำหน้าที่เหมือนชุมสายโทรศัพท์
             4. การเชื่อมต่อผ่านระบบผู้ใช้หลายคนหลายช่องทาง ระบบผู้ใช้หลายคนขนาดเล็ก ที่อยู่บนไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายระบบ เช่น ระบบยูนิกซ์ ระบบลีนุกซ์ ระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมขยายเข้ากับสถานีย่อได้มาก เป็นระบบที่ใช้งานร่วมกันได้ในราคาประหยัด

โครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) 
             เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ
             เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเครือข่ายโดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลาง จึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
             เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ด้วยสายคเบิลยาวเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอน อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง
             เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน
องค์ประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย 
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  • คอมพิวเตอร์ (Client Computer)
  • เซอร์เวอร์ (Server)
  • ฮับ (Hub)
  • บริดจ์ (Bridge)
  • เราท์เตอร์ (Router)
  • เกตเวย์ (Gateway)
  • โมเด็ม (Modem)
  • เน็ตเวอร์คการ์ด (Network Card)
ซอฟต์แวร์ (Software)
  • ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่าย (Network Operating Sytems)
  • แอบพลิเคชั่นของเครือข่าย (Network Application Sytems)
ตัวนำข้อมูล (Media Transmission)
             สายส่งข้อมูล หรือ Cable เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในระบบ Network ที่ใช้เป็นทางเดินของข้อมูลระหว่าง Workstation กับ Server มีลักษณะคล้ายสายไฟหรือสายโทรศัพท์แล้วแต่ชนิด ของ Cable แต่การเลือกใช้ Cable นั้นควรคำนึงถึงความปลอดภัย (Safety) และคลื่นรบกวน (Interference) เป็นสำคัญ สายส่งข้อมูลที่ดีไม่ควรเป็น ตัวนำไฟ เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น และสามารถ ป้องกันคลื่นรบกวนจากอำนาจแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุได้ ลักษณะของสายส่งข้อมูล แบ่งได้ดังนี้
             สาย Coaxial Cable หรือ สาย Coax นอกจากใช้ในระบบ Network แล้วยังสามารถ นำไปใช้กับระบบTV และ Mainframe ได้ด้วย สาย Coax นั้นเป็นสายที่ประกอบไปด้วยแกนของ ทองแดงหุ้มด้วยฉนวน และสายดิน (ลักษณะเป็นฝอย) หุ้มด้วยฉนวนบางอีกชั้นหนึ่ง ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากลวดทองแดงมาเป็นลวดเงินที่พันกันหลาย ๆ เส้นแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรบกวน ที่เรียกว่า "Cross Talk" ซึ่งเป็นการรบกวนที่เกิดจากสายสัญญาณข้างเคียง
  • สาย Twisted Pair Cable เป็นสายส่งสัญญาณที่ประกอบไปด้วยสายทองแดง 2 เส้น ขึ้นไปบิดกันเป็นเกลียว (Twist) แล้วหุ้มด้วยฉนวน โดยแบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบมี Shield และ แบบไม่มี Shield จะมีฉนวนในการป้องกันสัญญาณรบกวน หรือระบบป้องกันสัญญาณรบกวน โดยเรียกสาย Cable ทั้งสองนี้ว่า "Shielded Twisted Pair (STP)" และ "Unshielded Twisted Pair (UTP)"
  • สาย Shielded Twisted Pair (STP) หรือที่เรียกว่า "สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน" เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า
             สาย Unshielded Twisted Pair (UTP) หรือที่เรียกว่า "สายคู่บิดเกลียว ชนิดไม่หุ้มฉนวน"
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวก ในการโค้งงอ สาย UTP เป็นสายที่มีราคาถูกและ หาง่าย แต่ป้องกันสัญญาณรบกวน ได้ไม่ดีเท่ากับสาย STP
             สาย Fiber Optic Cable เป็นสายใยแก้วนำแสงชนิดใหม่ ประกอบด้วยท่อใยแก้ว ที่มีขนาดเล็กและบางมากเรียกว่า "CORE"ล้อมรอบด้วยชั้นของใยแก้วที่เรียกว่า "CLADDING" อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงถึง 565 เมกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่า ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีมาก ขนาดของสายเล็กมากและเบามากแต่มีราคาแพง
             นอกจากการสื่อสารข้อมูลตามสายรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ยังมีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Transmission) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลผ่านบรรยากาศโดยไม่ต้องอาศัยสายส่ง สัญญาณใด ๆ เช่น ระบบไมโครเวฟ ดาวเทียมสื่อสาร โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งเป็น สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่แตกต่างกัน ทำให้การสื่อสาร ทำได้รวดเร็วและครอบคลุมทุกมุมโลก

ที่มา www.dol.go.th

อุปทาน(Supply)

              อุปทาน  สำหรับในวิชาเศรษฐศาสตรแล้วนั้นคงต้องมีความควบคู่กับระหว่างอุปสงค์และอุปทานเสมอ  ดังนั้นแล้ว  อุปทานก็คือ  ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการเสนอขาย  ในระดับราคาต่างๆ  ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่  ก็คือความต้องการขายหรือทางเสนอขายของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการนั้นเอง
                ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
                1. ราคาสินค้าสินนั้น 
(Px)
                   2. ราคาปัจจัยการผลิต(Py)
                   3. ต้นทุนการผลิต (C)
                   4. เทคโนโลยีการผลิต (T)
                                                        กราฟตัวอย่าง
                                  
                ราคาสินค้าชนิดนั้น  หากราคาสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้นมีความต้องการขายสินค้ามากขึ้นด้วย  และหากสินค้าชนิดนั้นลดลงผู้ขายต้องการที่จะขายสินค้าชนิดนั้นลดลงเช่นกัน  สรุปคือไปตามขนาดกับราคาสินค้านั้นเอง
                ราคาปัจจัยการผลิต  มีทิศทางตรงกันข้ามนั้นก็คือถ้าปัจจัยการผลิตสินค้ามีมากขึ้นหรือว่าราคาสูงขั้นก็จะทำให้มีความต้องการสินค้านั้นลดลงเพราะว่าจะทำให้ผู้ผลิตนั้นมีกำไรลดลงแต่หากปัจจัยการผลิตสินค้าลดลงก็จะทำให้ความต้องการขายสินค้าเพิ่มากขึ้นด้วย
                 ต้นทุนการผลิ  สำหรับต้นทุนการผลิตหากต้นทุการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีความต้องการขายสินค้าลดลงและหากต้นทุนการผลิตต่ำลง
                เทคโนโลยีการผลิต  การที่นำเทคโนโลยีการผลิตนำมาใช้นั้นช่วยให้การผลิตนั้นมีประสิทธิภาพ  หากเราได้นำเครื่องไม้เครื่องมือหรือว่าอุปกรณืที่เป็นเทคโนโลยีขั้ยสูงเข้ามาใช้ในการผลิตนั้นก็จะทำให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นและยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มมากขึ้นด้วย
                นอกจากนั้นยังมีปัจจัยการผลิตอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือว่านโยบาลของทางรัฐบาล  และเกิดเรื่องของการเมือง  การเปิดเหตุอื่นๆที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ซึ่งจะมีผลทำให้เปิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปทานได้
                สมการอุปทาน 
(Supply Equation)
                เมื่ออุปทานเป็นการแสงความต้องการของผู้ผลิตจึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการผลิตโดยสามารถที่จะเขียนได้ดังนี้
                
Qx = f(Px, Py, C, T,….)
                จากฟังก์ชั่นเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่ต้องการเสนอขายและปัจจัยการผลิตราคาสินค้า  และยังมีปัจจัยที่สำคัญคือราคาสินค้าที่จำหน่าย
                กฎของอุปทาน 
(law of supply)
                ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ปริมาณการเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าราสินค้าลดลงจะทำให้ความต้องการเสนอขายสินค้ามีจำนวนลดลง
ที่มา www.accountclub.com

Thursday, March 17, 2016

อุปสงค์(Demand)

     อุปสงค์  คือ  การเสนอเลือกซื้อสินค้าในปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการ  ในราคาต่างๆ  ในเวลาใดเวลาหนึ่ง  มีความต้องการจงใจที่จะซื้อ  และความสามารถที่จะซื้อในช่วงเวลานั้น
                ดังนั้นแล้วจึงเป็นความต้องการที่สามารถ  ซื้อได้จริงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ซึ่งจะต้องมีความต้องอย่างและมีเงินที่จะจ่ายได้
                ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
                การที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการในชระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง  จะมีมากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.       ราคาสินค้าชนิดนั้น

2.       ระดับรายได้ของผู้บริโภค

3.       ราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อ      
4.       รสนิยของผู้บริโภค                                                                           
5.       จำนวนประชากร
6.       การโฆษณา
7.       ช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาล  เป็นต้น
                                    กราฟตัวอย่าง
                                                                        สำหรับปัจจัยดังกล่าวสามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้
ราคาสินค้า  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผู้บริโภค  เนื่องจากต้องการใช้สินค้าทำให้เกิดความพึ่งพอใจสูงสุด  ดังนั้นหากราคาสินค้ามีราคาเพิ่มขึ้น ก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง  แต่ถ้าการาคาสินค้านั้นลดลงก็จะทำให้มีการซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ  อย่างเช่นสินค้าชนิดเดียวกันใช้แทนกันได้อย่างเช่นเนื้อไก่ราคาถูกกว่าเนื้อหมูจะมาซื้อเนื้อไก่แทน  หรือว่าสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกัน
   รายได้ของผู้บริโภค  โดยสินค้าทั่วไปนั้นหากรายได้ของผู้บริโภคนั้นสูงก็จะสินค้าจำนวนนั้นมากหากรายได้ของผู้บริโภคน้อยก็จะทำให้เลือกซื้อสินค้านั้นน้อยลงเช่นกัน  ยิ่งเป็นสินสินค้าสิ้นเปืองด้วยแล้วหรืออาจจะไม่ซื้อเลย  แต่หากเป้นสินค้าที่มีความจำเป็นในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันแล้วอาจจะจำเป็นต้องซื้อ
  ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เป็นตัวกำหนดปัจจัย  หากสินค้าที่มีสองชนิดสามารถทดแทนกันได้อาจจะต้องเลือกสินค้าชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าที่สามารถแทนกันได้
   รสนิยมของผู้บริโภค สำหรับสรนิยมแล้วมีความต้องการในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง แต่สินค้าชนิดนั้น  และอาจจะไม่นิยมในช่วงระยะเวลาต่อมาก็ได้
  จำนวนประชากร  ซึ่งมีความต้องการที่มีน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนและช่วงอายุที่มีความต้องการสินค้าชนิดนั้นๆ  หากมีจำนวนมากก็จะทำให้สินค้าจำหน่ายได้มากขึ้นด้วย
    การโฆษณา  การโฆษณาเป็นการประชาสัมพันธ์  ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
    ฤดูกาล  ในช่วงของฤดูกาลอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนของการตัดสินใจซื้อสินค้า  อย่างเช่น  พัดลม  เครื่องปรับน้ำอุ่น  ร่ม เป็ฯต้นซึ่งมีความต้องการและความจำเป็นในช่วงฤดูกาลเท่านั้น
 ที่มา www. accountclub.net

อุปทาน (Supply)

อุปทาน  (Supply)


อุปทาน หมายถึง อุปทานของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการจะเสนอขาย ณ ระดับราค่างๆในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง

ในการเสนอขายสินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ขายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น ถ้าระดับสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา หรือการกำหนดราคาของตลาด จำนวนสินค้าและบริการที่จะนำเสนอขายก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าและบริการในตลาดช่วงเวลานั้น มีระดับราคาสูง ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะผลิตหรือนำเสนอขายเป็นจำนวนมาก แต่ในช่วงเวลาที่สินค้าและบริการในตลาดลดลง หรือขายได้ในราคาต่ำ ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะไม่นำสินค้าออกมาเสนอขาย หรือลดจำนวนขายลง

กฎของอุปทาน คือ เมื่อราคาสินค้าที่เสนอขายนั้นสูงขึ้น ผู้ขายก็จะนำสินค้าออกขายในปริมาณมาก แต่เมื่อราคาสินค้าที่เสนอขายนั้นลดลงผู้ขายก็จะนำสินค้าออกขายในปริมาณลดลง

อย่างไรก็ตาม การเสนอขายสินค้าและบริการไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาอย่างเดียว แต่การเสนอขายสินค้ายังขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิต ราคาปัจจัยการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ จำนวนผู้ผลิต และอื่นๆอีกมาก

ที่มา http://www.thaieditorial.com/

อุปสงค์ (Demand)

อุปสงค์  (Demand)


อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการสินค้าและบริการ โดยอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง หมายถึงจำนวนต่างๆของสินค้าและบริการชนิดนั้น ที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาใด เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้า และบริการชนิดนั้น

ความต้องการในแง่ของอุปสงค์นี้เป็นความต้องการที่มีอำนาจซื้อ คือ เมื่อผู้บริโภคต้องการจะซื้อก็จะต้องมีเงินเพียงพอ และมีความเต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าบริการนั้นๆด้วย จึงจะถือว่าเป็นอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการ

กฎของอุปสงค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภคแปรผกผันกับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้นเสมอ กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าและบริการมีระดับราคาสูงขึ้นจะทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าลดลง แต่ถ้าระดับราคาสินค้าและบริการลดลง จะทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

อุปสงค์หรือปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ จะขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการ รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมของผู้บริโภค ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฤดูกาลของสินค้าด้วย

การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ หมายถึง การที่ตัวกำหนดโดยตรง คือราคาของสินค้าได้เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้ปริมาณซื้อเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอุปสงค์เดิม อุปสงค์หรือความต้องการนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังต่อไปนี้

– การเปลี่ยนแปลงต่อรายได้ คือ เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น อำนาจการซื้อจะเพิ่มขึ้น

– การเปลี่ยนแปลงต่อราคา ในกรณีที่มีรายได้เท่าเดิม แต่ราคาของสินค้าเปลี่ยนแปลงไป อุปสงค์จะมีการเปลี่ยนแปลงตาม กฎของอุปสงค์ คือ เมื่อราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นจะลดปริมาณการซื้อลง แต่เมื่อราคาสินค้าลดลงจะเพิ่มปริมาณการซื้อสินค้ามากขึ้น


ที่มา http://www.thaieditorial.com/